ประกันภัยรถยนต์ | คำถามที่พบบ่อย


• ประกันภัยภาคบังคับ (ประกันภัยพ.ร.บ.): เป็นประกันภัยภาคบังคับที่ออกโดยรัฐบาลไทยซึ่งบังคับให้รถยนต์ทุกคันในประเทศไทยต้องมี ประกันภัยพ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองการบาดเจ็บต่อร่างกายและการเสียชีวิตเท่านั้น (และจำนวนเงินประกันค่อนข้างต่ำ) อีกทั้งไม่ได้คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สิน กรมธรรม์นี้เป็นภาคบังคับที่ใช้ในประเทศไทย ส่วนประเภทต่อไปนี้เป็นประกันภัยภาคสมัครใจที่สามารถเลือกทำเพิ่มเติมนอกเหนือจากประกันภัยพ.ร.บ.

• ประกันภัยชั้น 1: เรียกว่า ‘ประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด’ หรือประกันภัย ‘เต็มรูปแบบ’ ประกันภัยชั้น 1 ให้ความคุ้มครองรถยนต์ของคุณแบบครบวงจร รวมถึงความเสียหายต่อทรัพย์สิน อัคคีภัย การบาดเจ็บต่อร่างกาย หรือการเสีนชีวิตของบุคคลภายนอก อีกทั้งให้ความคุ้มครองผู้ชับขี่และผู้โดยสารรถยนต์ และประกันตัวผู้ขับขี่ด้วย

• ประกันภัยชั้น 3: ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก การบาดเจ็บต่อร่างกาย และการเสียชีวิต นอกจากนี้ยังให้ความคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารรวมถึงประกันตัวผู้ขับขี่ แต่ไม่ครอบคลุมความเสียหายต่อรถยนต์ของคุณ

• ประกันภัยชั้น 3+1: กรมธรรม์นี้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกับประกันภัยชั้น 3 และครอบคลุมความเสียหายต่อรถยนต์ของคุณเฉพาะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุชนกับรถอีกคันหนึ่งและทราบหมายเลขทะเบียนคู่กรณีเท่านั้น

• ประกันภัยชั้น 2+1: ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกับประกันภัยชั้น 3+1 แต่เพิ่มเติมคือครอบคลุมกรณีโจรกรรมและอัคคีภัยที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของคุณ หลายคนมักเลิกทำประกันภัยชั้น 1 และเปลี่ยนไปทำประกันภัยชั้นรองลงมาแทนเมื่อเห็นว่ารถที่ใช้นั้นเก่าแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณ 'คิดเอาเอง' ว่าคุณเป็นคนที่ขับรถดี! อย่างไรก็ดีหากเป็นประเทศไทย แนะนำให้ต่อประกันภัยชั้น 1 ออกไปให้นานหลายปีเท่าที่จะทำได้ ในประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ คุณเหมารวมได้ว่าผู้ใช้ถนนคนอื่นมีประกันกันหมด แต่ในประเทศไทยไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป

แม้รถของคุณจะได้รับความเสียหายและเห็นได้ชัดว่าคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด แต่สุดท้ายแล้วคุณก็อาจต้องเป็นคนจ่ายค่าซ่อมเองถ้าคู่กรณีไม่มีประกันหรือไม่มีเงินจ่าย หากคุณทำประกันภัยชั้น 1 บริษัทประกันก็จะจ่ายค่าเสียหายให้กับคุณไม่ว่าใครเป็นฝ่ายผิดก็ตาม จากนั้นบริษัทประกันก็จะเดินเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณี โดยปัจจุบันสามารถทำประกันภัยชั้น 1 ให้กับรถยนต์อายุสูงสุด 20 ปี

ในเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยชั้น 1 นั้น จะเห็นว่าจำนวนเงินเอาประกันของรถยนต์จะอยู่ในคอลัมน์ตรงกลาง ซึ่งเป็นจำนวนเงินทั้งหมดที่คุณจะได้รับในกรณีที่รถยนต์ของคุณได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ อัคคีภัย หรือโจรกรรม จำนวนเงินเอาประกันตามกรมธรรม์จะน้อยกว่ามูลค่าตลาดจริงของรถยนต์ สำหรับในประเทศไทย มูลค่าความคุ้มครองของรถยนต์สูงสุดจะอยู่ที่ 80 ถึง 85% ของมูลค่าปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนเงินที่ระบุไว้นั้นบริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายให้ตลอดอายุกรมธรรม์ มูลค่าจริงของรถยนต์ในวันที่ 365 จะลดลงจากวันแรกที่ทำประกัน ดังนั้นบริษัทประกันจึงให้ความคุ้มครองสูงสุดที่ 80 ถึง 85%

ปกติแล้วคุณจะได้รถใช้สำรองระหว่างซ่อม แต่ก็สามารถเรียกร้องเงินชดเชย 'ค่าสูญเสียการใช้ประโยชน์' จากบริษัทประกันของคู่กรณีได้ (สมมติว่าคู่กรณีเป็นฝ่ายผิดและมีประกัน) สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ซีดาน) จำนวนเงินชดเชยจะอยู่ที่ 500 บาท/วันระหว่างรอซ่อม แม้ว่าคู่กรณีไม่มีประกัน คุณก็ยังเรียกร้องเงินชดเชยค่าสูญเสียการใช้ประโยชน์จากคู่กรณีได้ อย่างไรก็ดี หากคู่กรณีไม่สามารถหรือไม่เต็มใจจะจ่าย ทางออกคือต้องยื่นฟ้องต่อศาล

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ในประเทศไทยมี 2 ประเภท

1. กรมธรรม์แบบซ่อมห้าง คุณสามารถนำรถยนต์เข้าซ่อมได้ที่ตัวแทนอย่างเป็นทางการ กรมธรรม์ประเภทนี้โดยทั่วไปใช้ได้กับรถยนต์อายุไม่เกิน 5 ปี แม้เบี้ยประกันจะแพงกว่าแบบซ่อมอู่ แต่ก็แนะนำให้เลือกใช้แบบนี้ เพราะตัวแทนอย่างเป็นทางการจะใช้อะไหล่ของแท้ที่เบิกได้เร็วกว่าซ่อมอู่ และให้บริการซ่อมที่มีคุณภาพดีกว่า

2. กรมธรรม์แบบซ่อมอู่ คุณไม่สามารถนำรถยนต์เข้าซ่อมกับตัวแทนอย่างเป็นทางการได้ (ยกเว้นว่าตกลงชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเอง) แต่บริษัทประกันจะมีเครือข่ายอู่ที่ครอบคลุมทั่วประเทศไทย และมีรายชื่ออู่ให้คุณได้เลือกรับบริการ

ประกันภัยที่กฎหมายกำหนดไว้คือ ประกันภัยพ.ร.บ. (ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกภาคบังคับ) เบี้ยประกันต่อปีสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลอยู่ที่ 645.21 บาท แม้จะไม่แพง แต่ก็คุ้มครองเฉพาะการบาดเจ็บต่อร่างกาย/การเสียชีวิตเท่านั้น และเงินเอาประกันก็อยู่ในระดับต่ำ และไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สิน ตัวเลือกประกันภัยอื่นๆ ได้แก่ ประกันภัยชั้น 1, ชั้น 2, ชั้น 3, 2+1 เป็นต้น ซึ่งเป็นภาคสมัครใจ แม้คุณจะขับรถโดยไม่เคยถูกปรับเลย แต่ก็ไม่แนะนำให้ทำประกันภัยพ.ร.บ. เพียงอย่างเดียว

มีสิทธิ มีสิทธิ หลักเกณฑ์การให้ส่วนลดประวัติดีโดยทั่วไปมีดังนี้

• หลังพ้นปีที่ 1 20%
• หลังพ้นปีที่ 2 30%
• หลังพ้นปีที่ 3 40%
• หลังพ้นปีที่ 4 50%

หมายเหตุ 1: ส่วนลดประวัตดีคำนวณจากเบี้ยประกันพื้นฐานเท่านั้น เบี้ยประกันอ้างอิงจากส่วนประกอบต่างๆ โดยรวม แต่ส่วนลดประวัติดีไม่ใช่การให้ส่วนลดกับส่วนประกอบแต่ละรายการ

หมายเหตุ 2: ในประเทศอื่น เรามักจะทราบดีว่า ส่วนลดประวัติดีจะเชื่อมโยงกับผู้เอาประกันโดยตรง แต่ในประเทศไทย ส่วนลดประวัติดีจะเชื่อมโยงกับตัวรถยนต์เท่านั้นไม่เกี่ยวกับตัวผู้ขับขี่ หากคุณซื้อรถใหม่และมีส่วนลดประวัติดี 50% จากรถคันเก่า ส่วนลดประวัติดีที่คุณจะได้รับในปีแรกจะอยู่ที่ 0% การโอนส่วนลดประวัติดีของรถคันหนึ่งไปอีกคันจะทำได้เฉพาะในกรณีพิเศษตามที่กำหนดไว้เท่านั้น

1 เปลี่ยนจากซ่อมห้างเป็นซ่อมอู่

2 ยอมจ่ายความรับผิดส่วนแรก ความรับผิดส่วนแรก เช่น 5,000 บาทสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งจะต้องจ่ายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและคุณเป็นฝ่ายผิดเท่านั้น

3 ซื้อกรมธรรม์ประเภท “ระบุชื่อผู้ขับขี่” ซึ่งเบี้ยประกันจะถูกลง สามารถเพิ่มชื่อผู้ขับขี่ได้สูงสุด 2 ชื่อในกรมธรรม์เดียว หากคุณให้คนอื่นยืมรถไปขับและความเสียหายนั้นเกิดจากผู้ที่ยืมไปขับ (ไม่มีชื่ออยู่ในกรมธรรม์) รถยนต์คันนั้นยังถือว่ามีประกัน แต่จะมีความรับผิดส่วนแรกจำนวน 6,000 บาท (5,000 + 1,000 บาท)

4 ติดกล้องหน้ารถช่วยลดเบี้ยประกันภัยต่อปีลงได้ราว 5-10%

คุณอาจจะมีประกันภัยชั้น 1 ซึ่งไม่ต้องรับผิดส่วนแรก แต่ก็ยังต้องจ่าย 1,000 บาทกรณีที่เกิดความเสียหายอยู่ เนื่องจากหากคู่กรณีทำให้รถยนต์ของคุณเสียหายแต่ไม่ทราบเลขทะเบียนของคู่กรณี เช่น หากคู่กรณีขับหนีไปหรือพบว่ารถที่จอดอยู่เกิดความเสียหายแต่ไม่ได้รับการติดต่อใดๆ จากคู่กรณี กรณีเช่นนี้ตามกฎหมายแล้ว คุณจะต้องจ่ายค่าเสียหายจำนวน 1,000 บาทเอง หากพบว่ารถที่จอดอยู่เกิดความเสียหาย ก็ควรแจ้งบริษัทประกันว่า คุณขับไปชนเสาเอง หากคุณเป็นผู้ที่ทำให้เกิดควาเสียหายเอง ก็ไม่ต้องจ่าย 1,000 บาท

ช่วงกลางปี 2563 จำนวนเงินความคุ้มครองการเสียชีวิตของบุคคลภายนอกอยู่ในระดับสูง เช่น จำนวนเงินที่ต้องจ่ายอยู่ที่รายละ 2,000,000 บาท ในทางปฏิบัติแล้วแทบจะไม่มีการจ่ายจริง เงินที่จ่ายให้กรณีที่มีการเสียชีวิตมักเป็นจำนวนเงินที่บริษัทประกันได้ไปเจรจาตกลงกับญาติของผู้เสียชีวิต แต่ในปี 2563 หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปหลังจากคปภ. (หน่วยงานกำกับดูแลด้านประกันภัยของไทย) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ว่า ในกรณีข้างต้นนั้น บริษัทประกันต้องจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ผลที่ตามมาคือบริษัทประกันเกือบทุกแห่งเริ่มปรับลดจำนวนเงินเอาประกันกรณีการเสียชีวิตของบุคคลภายนอกลง ปัจจุบันจำนวนเงินเอาประกันดังกล่าวอยู่ที่เพียง 500,000 บาทต่อราย การปรับเพิ่มจำนวนเงินคุ้มครองมักจะมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แนะนำให้ทำเพิ่มเติมเนื่องจาก 500,000 บาทนั้นถือว่าน้อยเกินไป

รายละเอียดในกรมธรรม์นั้น ไม่เพียงแต่ให้ความคุ้มครองกรณีการบาดเจ็บต่อร่างกาย/เสียชีวิตของบุคคลภายนอกเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์ด้วย แต่ความคุ้มครองอย่างหลังนี้ไม่สูงมากนัก (เช่น สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ส่วนค่ารักษาพยาบาลของบุคคลภายนอกขั้นต่ำอยู่ที่ 500,000 บาท) ผู้โดยสารที่ไม่ใช่สมาชิกครอบครัวโดยตรงจะได้รับความคุ้มครองสูงกว่าเนื่องจากถือเป็นบุคคลภายนอก คุณในฐานะผู้ขับขี่และสมาชิกครอบครัวโดยตรงจะได้รับความคุ้มครองเป็นจำนวนเงินที่น้อยกว่า

กรณีที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์หรือได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถทำงานได้เป็นเวลา 20 วันหรือนานกว่านั้น จะถือเป็นคดีอาญาโดยอัตโนมัติ หากเกิดเหตุเช่นนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำสำนวนเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลอย่างเป็นทางการ หากเจ้าหน้าที่ตำรวจเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี ก็อาจจับกุมตัวไว้ในทันที เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ ตัวแทนจากบริษัทประกันจะเดินทางมาจ่ายเงินประกันตัวให้คุณ เงินประกันตัวเป็นเพียงความคุ้มครองในทางทฤษฎีเท่านั้นเพราะแทบจะไม่เคยได้ใช้จริง

รถเช่าต้องมีประกันการเช่าแบบพิเศษ บริษัทเช่ารถยนต์รายย่อยจำนวนมากไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องนี้ ดังนั้นต้องขอดูสำเนากรมธรรม์ประกันภัยก่อนเช่ารถทุกครั้ง โดยตรวจดูข้อความด้านท้ายกรมธรรม์ หากเห็นข้อความว่า “ใช้งานส่วนบุคคลเท่านั้น/ไม่อนุญาตให้นำไปรับจ้าง/เช่า) ก็รู้ได้เลยว่า ไม่มีการทำประกันภัยการเช่า

การขับรถเช่าที่ไม่มีประกันถือว่ามีความเสี่ยงเนื่องจากอาจเกิดผลกระทบที่ร้ายแรงตามมา บริษัทประกันจะปฏิเสธการให้ความคุ้มครองหากตรวจสอบพบว่า นำรถดังกล่าวไปปล่อยเช่า กรณีที่มีข้อความว่า “สำหรับนำไปรับจ้าง/เช่า” หรือ “ใช้งานเพื่อการพาณิชย์” ปรากฏในกรมธรรม์ ก็แสดงว่ารถเช่านั้นทำประกันการเช่าอย่างถูกต้อง และคุณก็ไม่ต้องเจอกับปัญหาใดๆ ในภายหลัง

กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ทางที่ดีที่สุดคือรีบติดต่อเบอร์ฉุกเฉินของบริษัทประกัน จากนั้นบริษัทประกันจะส่ง “เจ้าหน้าที่สำรวจภัย” มายังที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่สำรวจภัยจะดูแลจัดการเรื่องเอกสารต่างๆ ติดต่อรถลาก (ถ้าจำเป็น) และติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ซึ่งมักพูดภาษาอังกฤษไม่ได้)

สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ บริษัทประกันเกือบทุกแห่งจะจ้างเหมางานดังกล่าวไปให้กับ “สำนักงานกฎหมาย” กรณีที่ได้รับรายงานอุบัติเหตุ บริษัทประกันก็จะเลือกและติดต่อกับสำนักงานกฎหมายที่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุด จากนั้นสำนักงานกฎหมายก็จะส่งเจ้าหน้าที่มายังที่เกิดเหตุ แม้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมดังกล่าวจะดูดีกว่าที่เราได้รับในประเทศอื่น แต่เจ้าหน้าที่สำรวจภัยก็มักถูกร้องเรียนบ่อย โดยเรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่มีดังนี้

• เจ้าหน้าที่สำรวจภัยพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องปกติ ถ้าต้องการประสานงานเรื่องต่างๆ จำเป็นต้องติดต่อกับศูนย์ช่วยเหลือฉุกเฉินของบริษัทประกันซึ่งมักจะให้บริการล่ามแปลภาษาทางโทรศัพท์

• ใช้เวลานานกว่าที่เจ้าหน้าที่สำรวจภัยจะมาถึง ในชั่วโมงเร่งด่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบางครั้งที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย เจ้าหน้าที่สำรวจของสำนักงานกฎหมายอาจติดงานที่อื่นอยู่และต้องรอเจ้าหน้าที่นานเป็นชั่วโมง

หากคุณต้องการติดตั้งตะขอรถลากและลากรถของคุณเอง ทางที่ดีที่สุดให้ตรวจสอบรายละเอียดประกันภัยของคุณว่าให้ความคุ้มครองกรณีที่นำรถมาลากหรือไม่ บริษัทประกันหลายแห่งไม่ได้ให้ความคุ้มครองกรณีนำรถมาลากเอง

บริษัทประกันหลายแห่งมีบริการประกันภัยภาคบังคับรวมถึงการติดต่อสำนักงานขนส่ง หลายคนรวมถึงคนที่มีประกันภัยภาคสมัครใจอยู่แล้วจะซื้อประกันภัยภาคบังคับไปพร้อมกับการเสียภาษีรถยนต์ ซึ่งไม่มีปัญหาเนื่องจากความคุ้มครองและเบี้ยประกันนั้นเหมือนกันทุกที่ แต่ทางที่ดีให้ซื้อประกันภัยภาคบังคับกับบริษัทเดียวกับที่คุณทำประกันภัยภาคสมัครใจ (เช่น ประกันภัยชั้น 1)

เหตุผลก็คือประกันภัยภาคสมัครใจจะเริ่มให้ความคุ้มครองเมื่อความคุ้มครองตามประกันภัยภาคบังคับถึงระดับสูงสุดตามที่กำหนดไว้ เช่น หากต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุและมีค่ารักษา 400,000 บาท ประกันภัยภาคบังคับจะจ่ายเงิน 80,000 บาทแรกให้ซึ่งเป็นระดับความคุ้มครองสูงสุดที่กำหนดไว้ จากนั้นประกันภัยภาคสมัครใจจะเข้ามารับผิดชอบส่วนที่เหลือ (ตามที่กรมธรรม์กำหนดไว้) กระนั้นก็ตามกรณีเช่นนี้ก็ถือว่ามีความซับซ้อนหากคุณทำประกันภัยดังกล่าวไว้กับ 2 บริษัท หากคุณทำประกันภัยภาคบังคับกับบริษัทเดียวกันและเมื่อต้องขอรับความคุ้มครองจากประกันภัยภาคสมัครใจ ก็จะสะดวกกว่าเพราะจะติดต่อกับแค่บริษัทเดียวเท่านั้น

ไม่มีระยะเวลายกเลิก โดยในประเทศไทยจะใช้หลักเกณฑ์ที่ว่า ไม่จ่ายก็ไม่มีการต่ออายุ ดังนั้นหากคุณไม่ประสงค์ต่ออายุกรมธรรม์ ก็แค่ไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกัน ซึ่งถือเป็นการยกเลิกกรมธรรม์ของคุณก่อนจะครบกำหนดวันต่ออายุ เช่น เมื่อขายรถไปแล้ว ในกรณีนี้บริษัทประกันจะคืนเงินให้กับคุณตามรายละเอียดการคืนเงินภายใต้ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไป ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามสัดส่วน แต่อยู่ที่ราว 75% ของระยะเวลาที่เหลืออยู่

หากคุณทำประกันภัยชั้น 1 และเกิดกรณีที่หนูแทะสายไฟรถยนต์ คุณจะได้รับความคุ้มครอง หากคุณต้องรับผิดส่วนแรก คุณก็ต้องจ่ายความรับผิดส่วนแรกเอง

ใช้เวลานานกว่าในแถบตะวันตก ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากวิธีการวางแผนการซ่อมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้งานซ่อมจะเยอะขึ้นในบางช่วง (เช่น ช่วงหน้าฝน) การส่งมอบอะไหล่ก็ใช้เวลานานเช่นกัน หากรถของคุณยังใช้ได้ ควรนัดหมายวันที่จะนำรถไปซ่อมหลังจากทางอู่ได้รับมอบอะไหล่ครบแล้วและสามารถเริ่มทำการซ่อมได้ทันที

จะถือว่ารถยนต์นั้นมีความเสียหายโดยสิ้นเชิงหากค่าซ่อมนั้นเกิน 70% ของเงินเอาประกันที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ของคุณ และคุณจะได้รับเงินเอาประกันตามที่ระบุไว้นั้น ซากรถจะตกเป็นทรัพย์สินของบริษัทประกัน

อุปกรณ์แต่งรถมักรวมอยู่ในกรมธรรม์ประกันภัยชั้น 1 มูลค่าสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท หากคุณใช้อุปกรณ์แต่งรถราคาแพง ก็จำเป็นต้องทำประกันภัยเพิ่มเติมในส่วนนี้